Classroom of Storytellers

About

อะไรสร้างประสบการณ์ของคนหนึ่ง? การโอบรับความเป็นไปไม่ได้ของการดูดซับบางอย่างโดยสมบูรณ์หมายความว่าอะไร? คุณต้องการอะไรบ้างเพื่อที่จะ "เข้าใจ" บางสิ่ง, หรือกระทั่งโลกใบนี้? ไม่ใช่ว่ามันเป็นกระบวนการการที่ไม่มีที่สิ้นสุดและไร้ขอบเขตหรอกหรือ? และไม่ใช่ว่ามันใหญ่เกินกว่าชีวิตคนทางกายภาพของคนหนึ่งหรอกหรือ? แล้วทีนี้ เราจะรู้ซึ้งถึงบางสิ่งได้อย่างไร? คุณยินดีที่จะขับเคี่ยวกับการสังเคราะห์อย่างเชื่องช้าหรือไม่? หรือว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเลือกคำอธิบายที่สะดวกสบาย? คุณเห็นและรู้สึกอะไรเมื่อคุณเดินไปในพื้นที่ศิลปะ? วัตถุ? แสง? ความมืดมิด? เสียง? อากาศ? ความอึดอัด? ความสับสน? ความเคลื่นเหียน? ตัวคุณเอง? หรือคนอื่นอีก? ...คุณเห็นนักเล่าเรื่องหรือไม่?

ห้องเรียนนักเล่าเรื่องริเริ่มโดยจุฑา สุวรรณมงคลภายหลังจากคำพูดเรียบๆ ว่า: "เราไม่ควรจะคาดหวังแค่ผลงานศิลปะเท่านั้น แต่คือลมที่ห่อล้อมงานด้วย" เป้าหมายนี้กาลายเป็นโครงสร้างทางวาทกรรม—อากาศในฐานะกระบวนวิธีการสอน ทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Ghost:2561 ช่วยสร้างกรอบความคิดขึ้นและประกอบออกมาเป็นสองส่วนหลัก: ห้องเรียนและหนังสือรวมบทความคัดสรร เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑, ห้องเรียนนักเล่าเรื่องขีดโครงด้วยสมมติฐานที่ว่าสิ่งใดอาจช่วยสนับสนุนผู้ชมเพื่อที่เขาจะได้สร้างเรื่องเล่า (ที่ไร้จุดจบ/ไม่สมบูรณ์) เกี่ยวกับศิลปะ หลักสูตรนี้ใช้เวลา ๕ อาทิตย์ โดยห้องเรียนเป็นข้อตกลงร่วมกันของนักเล่าเรื่องที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อทำงานกับ Ghost:2561 ทั้งนี้ นักเล่าเรื่องไม่ใช่ทั้งคนนำชมนิทรรศการหรือเครื่องยนต์สั่งสอนผู้ใด ทว่าการมีอยู่ของพวกเขาช่วยย้ำเตือนผุ้ชมว่าไม่มีบทบรรยายใดสมบูรณ์พอที่จะฉายสู่ประสบการณ์ของคนหนึ่ง แต่ถ้าผู้ใดยึดมั่นที่จะทำงานไปกับการทบทวนอย่างต่อเนื่องของความเข้าใจตนเอง คนผู้นั้นจะเรียนรู้ผ่านสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่ง ลองหานักเล่าเรื่องในพื้นที่นิทรรศการนั่นสิ พวกเขาอาศัยอยู่ และพวกเขามีชีวิต พวกเขาอาจะเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่าคุณ, และในทางกลับกัน